ตัววิ่ง

โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มงคลสูตรคำฉันท์

เนื้อเรื่องย่อ


เริ่มต้นกล่าวถึงมนุษย์และเทวดาได้พยายามต้นหาคำตอบว่า อะไรคือมงคล เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี พระอานนท์ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ เชตวันมหาวิหารซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายไว้ ณ เมืองสาวัตถี มีเทวดาองค์หนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาปฐมยามและได้ทูลถามเรื่องมงคล พระพุทธองค์จึงตรัสตอบถึงสิ่งที่เป็นมคล ๓๘ ประการ หลังจากรับฟังเทศนาจบ เหล่าเทวดาก็บรรลุธรรม

มงคลทั้ง ๓๘ ประการ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นคาถาภาษาบาลีเพียง ๑๐ คาถา แต่ละคาถาประกอบด้วยมงคล ๓ -๕ ข้อ และมีคาถาสรุปตอนท้าย ๑ บท ชี้ให้เห็นว่าเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าปฏิบัติตามมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการนี้ได้ จะไม่พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูและจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรื่องสืบไป


จุดมุ่งหมายในการแต่ง
             ในการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำหลักธรรมที่เป็นคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฎกมาแปลและเรียบเรียงแต่งเป็นคำประพันธ์ที่มีความไพเราะ ทั้งนี้เพื่อจะได้มีการจำได้ง่ายโดยมีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นว่า สิริมงคลจะเกิดแก่ตัวเราได้ก็ด้วยเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดี และยังสามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดความเจริญและเพื่อความเป็นสิริมงคลของตัวเราเองอีกด้วย

ลักษณะคำประพันธ์
              มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยทรงนำคาถาภาษาบาลีที่เป็น "มงคลสูตร" ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎกแปล แล้วทรงเรียบเรียงแต่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่มีสัมผัสคล้องจอง ท่องจำง่าย และสามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ โดยทรงใช้คำประพันธ์2ประเภท คือกาพย์ฉบัง16และ อินทรวิเชียรฉันท์11 โดยทรงลงท้ายคำประพันธ์ทุกบทด้วยข้อความเดียวกันว่า"ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี"


ข้อคิดที่ได้รับ

๑.ได้รู้ถึงวิธีการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตด้านต่างๆ เช่น
-การเลือกคบมิตรที่ดี
-การทำดีและสะสมความดีต่างๆ
-การหลุดพ้นจากความทุกข์  เป็นต้น
๒.ได้ศึกษาภาษากวีนิพนธ์ที่สละสลวย ไพเราะทั้งถ้อยคำและเนื้อความ
๓. ทำให้เราได้เข้าถึงพระพุทธศาสนาได้มากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น