ตัววิ่ง

โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มงคลสูตรคำฉันท์

ความเป็นมา


            มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อหาว่าด้วยมงคล ๓๘ อันเป็นพระสูตรหนึ่งในพระไตรปฎก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
คำว่า “มงคล” หมายถึง เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าหรือทางก้าวหน้า และ “สูตร” หมายถึง คำสอนในพระพุทธศาสนา มงคลสูตร จึงหมายความว่า พระธรรมหรือคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า
มงคลสูตร มีที่มาโดยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก ความว่า
ครั้งหนึ่งชาวชมพูทวีปได้มาประชุมและพูดคุยกันว่า “การเห็นเป็นมงคล การได้ยินได้ฟังเป็นมงคล หรือการสูดดมลิ้มเลียเป็นมงคล”
ครั้งนั้นมีชายคนหนึ่งนามว่า ทิฏฐิมังคลิกะ ถือว่า การเห็นเป็นมงคล และมีชายอีกคนหนึ่งนามว่า สุตมังคลิกะ ถือว่าการได้ฟังเป็นมงคล และยังมีชายอีกคนหนึ่งนามว่า มุตมังคลิกะ ถือว่าการสูดดมลิ้มเลียเป็นมงคล เมื่อชายทั้ง ๓ ถือมงคล ต่างกัน จึงกล่าวแก่งแย่งถกเถียงกันว่า อะไรคือมงคล
ฝ่ายคนที่ไม่เชื่อชายทั้งสามก็พากันคิดว่า อะไรจะเป็นมงคล ครั้งนั้นมนุษย์และเทพยดาทั้งหลายพากันคิดเรื่องมงคล เมื่อท้าวสุทธาวาสมหาพรหมรู้ว่า มนุษย์และเทพยดาพากันคิดเรื่องมงคล แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ จึงร้องประกาศว่า อีก ๑๒ ปีข้างหน้า พระพุทธเจ้าจะตรัสเทศนาเรื่องมงคล ให้คอยฟัง เมื่อร้องประกาศแล้วท้าวสุทธาวาสก็กลับไป
ครั้นล่วง ๑๒ ปีเทพยดาทั้งหลายก็พากันไปเฝ้าพระอินทร์ กราบทูลเรื่องมงคลที่มหาชนและเทพยดาถือกันต่างๆ พระอินทร์จึงมีเทวบัญชาให้เทพยดาองค์หนึ่งทูลถามข้อมงคลแด่พระพุทธเจ้า
ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี เทพยดาจึงทูลอาราธนาขอให้พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาเรื่องมงคล
พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาตรัสตอบปัญหาเรื่องมงคล ๓๘ ประการ เมื่อทรงเทศนาจบแล้วเหล่าเทวดาทั้งหลายก็ได้บรรลุธรรม ครั้นเมื่อราตรีนั้นผ่านพ้นไป พระพุทธองค์จึงได้ทรงเทศนาเรื่องมงคลนี้ประทานแก่พระอานนท์ซ้ำอีกคราวหนึ่ง แล้วทรงให้พระอานนท์นำไปเผยแผ่แก่ภิกษุทั้งหลาย
คำว่า “มงคล” ในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่เหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นสุขและมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ใน “มงคลสูตร” เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้ยึดถือและปฏิบัติ มีทั้งสิ้น ๓๘ ประการ ได้แก่

มงคล ๓๘ ประการ


๑. ไม่คบคนพาล                                                                
๒. คบบัญฑิต                                                                        
๓. บูชาบุคคลที่ควรบูชา                                    

๔. อยู่ในถิ่นอันสมควร                                                      
๕. เคยทำบุญมาก่อน                                                        
๖. ตั้งตนไว้ชอบ                                                       
๗. ความเป็นพหูสูต                                                            
๘. รอบรู้ในศิลปะ                                            
๙. มีวินัยที่ดี                                                         
๑๐. กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต                                            
๑๑. บำรุงบิดามารดา                                                            
๑๒. สงเคราะห์บุตร                                                       
๑๓. สงเคราะห์ภรรยา                                                     
๑๔. ทำงานไม่ให้คั่งค้าง                                                  
๑๕. ให้ทาน                                                                     
๑๖. ประพฤติธรรม                                                                
๑๗. สงเคราะห์ญาติ                                                          

๑๘. ประกอบการงานที่ไม่มีโทษ 
๑๙. งดเว้นจากบาป   
๒๐. สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
๒๑. ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
๒๒. มีความเคารพ
๒๓. มีความถ่อมตน
๒๔. มีความสันโดษ
๒๕. มีความกตัญญู
๒๖. ฟังธรรมตามกาล
๒๗. มีความอดทน
๒๘. เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
๒๙. เห็นสมณะ
๓๐. สนทนาธรรมตามกา
๓๑. บำเพ็ญตบะ
๓๒. ประพฤติพรหมจรรย์
๓๓. เห็นอริยสัจ
๓๔. ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
๓๕. จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๓๖. มีจิตไม่เศร้าโศก
๓๗. มีจิตปราศจากกิเลส
๓๘. มีจิตเกษม                                                           
          
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำ “มงคลสูตร” มาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทประพันธ์ร้อยกรองประเภทคำฉันท์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น